
“เมื่อคุณพระเศวตฯ ยังเป็นลูกช้างเล็กๆ อยู่ที่บ้านกำนันในจังหวัดยะลา และยังไม่ได้ถวายตัวขึ้นระวางนั้น ปรากฏว่านางเบี้ยว (สุนัข) เป็นโรคอย่างหนักขนาดชักกระตุกไปทั้งตัว แทบจะเอาชีวิตไม่รอดอยู่แล้ว แต่ก็สู้อุตส่าห์กระเสือกกระสนคลานมาถึงที่คุณพระเศวตฯ อยู่ และเลียกินน้ำอาบของคุณพระเศวตฯ เข้าไป อาการป่วยทั้งปวงก็หายเป็นปกติ เดินเหินได้ตามเดิม รอดชีวิตมาได้ นางเบี้ยวก็กตัญญูรู้คุณ ติดตามคุณพระเศวตฯ เรื่อยมา ไม่ยอมห่าง คุณพระก็เมตตาเอ็นดูนางเบี้ยวถือว่านางเบี้ยวเป็นหมาของคุณพระ เมื่อถึงคราวที่คุณพระเศวตฯจะต้องเข้ามาอยู่กรุงเทพฯเพราะเป็นช้างต้นขึ้นระวางแล้ว ทั้งคุณพระเศวตฯและนางเบี้ยวก็ทุรนทุรายเดือดร้อนมาก นางเบี้ยวร้องทั้งกลางวันและกลางคืนจะตามคุณพระมาด้วย เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงมีพระราชกระแส ว่า ช้างทั้งตัวยังเอาไปได้ ทำไมหมาอีกตัวเดียวจะเอาไปไม่ได้ ให้เอาหมาไปด้วยเถิด สงสารมัน อย่าไปพรากมันเลย
นางเบี้ยวติดตามเข้ามาอยู่กับคุณพระเศวตฯ เล็กในสวนจิตรลดาด้วย
และเป็นที่รักชอบของคนในวัง
เมื่อเข้ามาอยู่ในรั้วในวังก็เลื่อนฐานะขึ้นเป็นแม่เบี้ยว
บางคนเรียกคุณเบี้ยวด้วยซ้ำไป
และได้ออกลูกออกหลานไว้ที่โรงช้างนั้นเป็นจำนวนมากแม่เบี้ยวตายไปหลายปีแล้ว แต่คุณพระเศวตฯ ก็ยังเลี้ยงลูกหลานแม่เบี้ยวสืบมา
เวลาคุณพระเศวตฯ
ออกเดินในสวนจิตรลดาหมาคุณพระทั้งปวงก็วิ่งตามเป็นฝูงและเชื่อฟังคุณพระทุกอย่าง
เมื่อครั้งพระนางเจ้าอลิซาเบธแห่งกรุงอังกฤษเสด็จพระราชดำเนินที่พระตำหนักจิตรลดา คุณพระเศวตฯ ก็มายืนคอยรับเสด็จ หมาทั้งปวงของคุณพระก็มาวิ่งเล่นกันอยู่เต็มสนาม ผมบังเอิญไปเห็นเข้าก็เข้าไปกระซิบคุณพระว่า หมา กระจัดกระจายเต็มทีแล้ว คุณพระได้ยินดังนั้น ก็ร้องเหมือนเสียงแตร หมาทั้งปวงก็วิ่งกลับมารวมกันอยู่บริเวณต้นไม้ใกล้ๆ คุณพระ ไม่ซุกซนต่อไป มีอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งคุณพระออกจะรักมาก วิ่งเข้ามาอยู่ใต้ท้องคุณพระ อาศัยคุณพระเป็นเงาบังร่ม ควาญเล่าว่า เวลากลางคืนหมาหลายสิบตัวเหล่านี้ จะนอนแวดล้อมคุณพระ ใครเดินเข้าไปในเวลากลางคืนก็จะเห่าขึ้นพร้อมกัน และถ้าใครขืนเดินตรงไปถึงตัวคุณพระ ก็คงโดนหมารุมกัดแน่ๆ คุณพระเศวตฯ เล็กมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างน่าอัศจรรย์ แลเห็นพระองค์ต้องยกงวงขึ้นจบถวายบังคมทุกครั้งโดยไม่ต้องมีใครบอก และถ้าเสด็จพระราชดำเนินลงไปเยี่ยมที่โรงช้าง คุณพระก็จะเฝ้าฯ ไป และถวายบังคมไปเป็นระยะไม่มีขาดจนพระกรุณาตรัสว่า ไม่ต้องถวายบังคมบ่อยถึงเพียงนั้น คุณพระจึงจะหยุดถวายบังคม”...
เรื่องเล่าจาก “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
หากจะย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง
ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์
โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ
ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม"
พนม ช่อจันทร์ นักเรียนชั้น ป.๔ โรงเรียนบ้านเขาเต่า เล่าถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่เกิดขึ้นกับเขาโดยไม่คาดฝัน เอาไว้ว่า
"หนูเคยเห็นคนนี้ที่ไหน" เสียงของชายเจ้าของรถเอ่ยถาม พร้อมยื่นแบงค์ใบละหนึ่งบาทให้ เด็กชายพนมตอบว่า "เคยเห็นแต่ในแบงค์ แต่ไม่เคยเห็นตัวจริง" ชายคนนั้นถอดหมวกที่สวมอยู่ออก แล้วถามกลับมาอีกว่า "เหมือนเราไหม"
ในวินาทีนั้น เด็กชายทั้งสามคนรู้แล้วว่า ผู้ชายที่เขาเห็นแต่งกายธรรมดาผู้กำลังสนทนาอยู่ตรงหน้านั้นเป็นใคร ต่างก็นิ่งอึ้งและเข่าอ่อน ทรุดนั่งลงกลางเลน กราบลงแทบพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ทรงตรัสขึ้นว่า "ลุกขึ้น ลุกขึ้นเถิด อย่านั่งเลย มันเลอะ"
หลังจากนั้น พระองค์จึงทรงพระอักษรใส่กระดาษ ให้เด็กชายนำไปส่งให้ครูที่โรงเรียนเทศบาลเขาเต่า ครูได้เห็นจดหมายนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นองค์เหนือหัว แต่ด้วยน้ำจิตน้ำใจแบบไทย เห็นใครเดือดร้อนก็ต้องช่วยเหลือ จึงสั่งการเกณฑ์เด็กโตๆ ไปร่วมยี่สิบคน จนในที่สุดรถยนต์พระที่นั่งก็ขึ้นจากหล่มจนได้ ก่อนเสด็จฯ จากไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ ทรงตรัสว่า "ขอบใจมาก" เสียงนั้นยังก้องกังวานในใจของเด็กชายมาจนตราบทุกวันนี้
'เรื่องน่ารักของคุณทองแดง'
คุณทองแดงเป็นสุนัขแสนรู้และมีความกตัญญู ทันตแพทย์ผู้ถวายงานท่านหนึ่งเล่าไว้ว่า...
เมื่อเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาทำพระทนต์ ที่ห้องทำพระทนต์ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน คุณทองแดงจะเดินเข้าห้องนำหน้าพระองค์ท่าน จะเดินสำรวจไปรอบๆ เก้าอี้ทำพระทนต์ และโต๊ะทุกโต๊ะที่ตั้งเครื่องมือเครื่องใช้ไว้...แต่จะไม่แตะต้อง ในหลวงรับสั่งว่า..."ทองแดงเขาเดินตรวจความเรียบร้อย" และขณะที่ในหลวงทำพระทนต์ คุณทองแดงจะทำท่าหมอบกราบโดยเอาสองขาหน้าประสานกันโดยไม่มีการลุกเดินไปไหนตลอดเวลาที่ในหลวงทำพระทนต์และทรงคุยกับทันตแพทย์...ซึ่งบางครั้งรวมเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง และก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จกลับ คุณทองแดงจะเดินมาเลียหน้าทันตแพทย์ทุกคนเพื่อขอบใจ มีวันหนึ่งคุณทองแดงไม่เลียหน้าอาจารย์เมตตจิตต์ (รศ.ทันตแพทย์หญิงคุณเมตตจิตต์ นวจินดา) เพื่อขอบใจ ดิฉันได้ทูลถามพระองค์ท่านว่า...วันนี้คุณทองแดงไม่ขอบใจคุณหมอเมตตจิตต์
พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งตอบพร้อมรอยแย้มสรวลว่า..."ก็วันนี้หมอเมตตจิตต์ไม่ได้ทำอะไรนี่"
: เนื้อหาจาก เพจ ตามรอยพ่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อุทัยเล่าต่อว่า เหตุการณ์ที่จำไม่มีวันลืม คือ
ตอนที่พระองค์ท่านจะเสด็จกลับ ทุกครั้งเมื่อลิฟท์ลงมาถึงชั้นล่าง
พระองค์จะตรัสเสมอว่า “ขอบใจนะ” ตนทั้งตื่นเต้นและดีใจ จึงตอบกลับไปว่า “ด้วยเกล้าพระเจ้าคะ” ไม่รู้ว่าพูดคำราชาศัพท์ถูกหรือไม่
อีกเรื่องที่ตนซาบซึ้ง และไม่รู้จะตอบแทนพระองค์ท่านได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ตนขี่จักรยานมาทำงานแล้วถูกรถยนต์ชนจนบาดเจ็บสาหัส แขน ขา และสะโพกหัก ต้องรักษาตัวอยู่ 9 เดือน พอผู้รับใช้ของพระองค์ท่านทราบเรื่อง ได้รับตนเข้าเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ถือเป็นวาสนาของตนมากที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดพระองค์ แม้จะเป็นเพียงพนักงานรักษาความปลอดภัย แต่พระองค์ท่านก็ทรงใส่ใจ และช่วยเหลือเมื่อยามยากลำบาก
“เหตุการณ์ที่ผมภูมิใจมากที่สุดที่ชีวิตนี้จะไม่มีวันลืม เกิดขึ้นในคืนหนึ่งเวลาประมาณ 23.00 น. ผมได้ขับลิฟท์ถวายแก่พระองค์ท่าน ขณะอยู่ในลิฟท์ พระองค์ท่านนำพระหัตถ์มาจับไหล่ผม และตรัสว่า “ได้นอนหรือยัง” ผมตอบพระองค์ท่านไปว่า “ยังพระพุทธเจ้าคะ” ถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดและฝันมาก่อนว่าจะได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านขนาดนี้ อยากเก็บชุดตัวนั้นเอาไว้ไม่ซักอีกเลย” รปภ.ศิริราช เล่าด้วยความภาคภูมิใจ
อุทัย เล่าต่อว่า ครั้งสุดท้ายที่ได้ขับลิฟท์ถวายพระองค์ท่าน คือตอนเข็นพระบรมศพลงมาทางลิฟท์ตัวที่ 7 จากชั้น 16 ลงมาที่ชั้น บี 2 ตนใส่ชุดเครื่องแบบรปภ.เต็มยศพร้อมถุงมือ และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เต็มที่ จนเมื่อรถเข็นของพระองค์ท่านเสด็จออกจากลิฟท์ไปนั้น ตนก้มลงกราบ และกลับเข้าไปในลิฟท์ร้องไห้ออกมาทันที กลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เพราะจากที่เมื่อก่อนถวายงานทุกวัน
จนวันนี้วันที่ท่านไม่อยู่แล้ว รู้สึกว้าเหว่ ถือเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้ถวายงานรับใช้พระองค์ท่าน โดยหลังจากนี้ตั้งใจจะเก็บถุงมือที่ถวายงานมาใส่กรอบไว้ให้ลูกหลานได้ดูต่อไป
“จากนี้ไปจะนำคำสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และจะเป็นคนดีของสังคม คนอื่นอาจมองอาชีพ รปภ. หรือ ยาม เป็นอาชีพสุดท้ายที่จะเลือกเป็นได้ ไม่มีใครชอบ แต่สำหรับตน มีความภูมิใจและถือเป็นเกียรติมากที่ได้ทำอาชีพนี้ และได้ใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน มันคุ้มและยิ่งใหญ่มากพอแล้ว” พี่อุทัยตั้งปณิธานในชีวิต
ขณะที่ วิโรจน์ วงศ์ละม้าย พนักงานรักษาความปลอดภัย อาคารเฉลิมพระเกียรตฺ ถือเป็นอีกคนที่มีโอกาสรับใช้พระองค์ท่าน เล่าว่า ตนถวายงานดูแลรักษาความปลอดภัยที่ชั้น จี ของอาคารเฉลิมพระเกียรติ ครั้งแรกที่เห็นพระองค์ท่านตนน้ำตาไหลออกมาด้วยความปลื้มปิติ ตอนที่พระองค์ท่านยังแข็งแรง หากเสด็จลงมาจากชั้น 16 พระองค์ท่านจะแย้มพระสรวลตลอด ชีวิตนี้ตนตายหลับแล้ว เพราะได้รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ทั้งยังถือเป็นเกียรติกับวงศ์ตระกูลอีกด้วย
วิโรจน์ เล่าอีกว่า พระองค์ท่านทรงมีเมตตากับพวกตน และทุกคนที่ถวายงานท่าน ทั้งมหาดเล็ก ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ในวันสำคัญอย่างวันคล้ายวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม ของทุกปี ท่านก็จะประทานเค้กให้พวกตนได้กินกัน ทุกคนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอย่างมาก” วิโรจน์ ย้อนเล่าถึงความปลาบปลื้มใจในชีวิต
วิโรจน์ ยังเล่าอีกว่า หลังจากพระองค์ท่านสวรรคต ตนใจหายและนอนไม่หลับ ถ้าเปลี่ยนให้คนแทนได้ก็จะทำ อยากให้พระองค์ท่านมีชิวิตอยู่ เพราะไม่มีพระราชา ที่ไหนที่จะทำเพื่อประชาชนเหมือนพระองค์ท่านอีกแล้ว ซึ่งหลังไม่มีพระองค์ท่านประทับอยู่ที่นี่ บรรยากาศที่นี่ก็เงียบเหงาไม่เหมือนเดิม แต่ยังมีประชาชนบางคนเดินมาที่ตึกแล้วร้องไห้ออกมา ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในตึกเดินมาทำงานยังตาแดงเสียใจกับการสวรรคตของพระองค์ท่าน ส่วนตนหลังจากนี้จะยึดแนวทางคำสอนของพระองค์ท่าน เรื่องการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหายให้ดีที่สุด ทำให้เต็มที่เต็มกำลัง และทำหน้าที่ตามที่ท่านสอนไว้
วันนี้แม้ไม่มี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประทับอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชแล้ว แต่ภาพความประทับใจ และคำสอนของพระองค์ท่าน จะฝังอยู่ในทรงจำของบุคคลที่ครั้งหนึ่งในชีวิตเคยถวายงานรับใช้พระราชาที่มีคนรักมากที่สุดในประเทศไทย
:เนื้อหาจากเว็บข่าวสด
เมื่อครั้งพระนางเจ้าอลิซาเบธแห่งกรุงอังกฤษเสด็จพระราชดำเนินที่พระตำหนักจิตรลดา คุณพระเศวตฯ ก็มายืนคอยรับเสด็จ หมาทั้งปวงของคุณพระก็มาวิ่งเล่นกันอยู่เต็มสนาม ผมบังเอิญไปเห็นเข้าก็เข้าไปกระซิบคุณพระว่า หมา กระจัดกระจายเต็มทีแล้ว คุณพระได้ยินดังนั้น ก็ร้องเหมือนเสียงแตร หมาทั้งปวงก็วิ่งกลับมารวมกันอยู่บริเวณต้นไม้ใกล้ๆ คุณพระ ไม่ซุกซนต่อไป มีอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งคุณพระออกจะรักมาก วิ่งเข้ามาอยู่ใต้ท้องคุณพระ อาศัยคุณพระเป็นเงาบังร่ม ควาญเล่าว่า เวลากลางคืนหมาหลายสิบตัวเหล่านี้ จะนอนแวดล้อมคุณพระ ใครเดินเข้าไปในเวลากลางคืนก็จะเห่าขึ้นพร้อมกัน และถ้าใครขืนเดินตรงไปถึงตัวคุณพระ ก็คงโดนหมารุมกัดแน่ๆ คุณพระเศวตฯ เล็กมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างน่าอัศจรรย์ แลเห็นพระองค์ต้องยกงวงขึ้นจบถวายบังคมทุกครั้งโดยไม่ต้องมีใครบอก และถ้าเสด็จพระราชดำเนินลงไปเยี่ยมที่โรงช้าง คุณพระก็จะเฝ้าฯ ไป และถวายบังคมไปเป็นระยะไม่มีขาดจนพระกรุณาตรัสว่า ไม่ต้องถวายบังคมบ่อยถึงเพียงนั้น คุณพระจึงจะหยุดถวายบังคม”...
เรื่องเล่าจาก “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เมื่อ รถพระที่นั่งของ "ในหลวง รัชกาลที่ ๙" ติดหล่มอยู่เพียงลำพัง! "นักเรียนชั้น ป.๔" เล่าความประทับใจที่มิอาจลบเลือน!
หากจะย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง
ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์
โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ
ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม"
กี่ปีมาแล้วที่เห็นพระองค์นั้นทรงเหนื่อยล้ากายและใจ
ด้วยความมุ่งหมายว่าจะดูแลแก้ไขป้องภัยให้พสกนิกรชาวไทย แม้จะลำบากเพียงใด
ก็ทรงทำเพื่อราษฎรของพระองค์ ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใด
เสมอเหมือนพระองค์ได้อีกแล้ว
พนม ช่อจันทร์ นักเรียนชั้น ป.๔ โรงเรียนบ้านเขาเต่า เล่าถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่เกิดขึ้นกับเขาโดยไม่คาดฝัน เอาไว้ว่า
เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๐๑
ขณะที่กำลังเล่นสนุกกับเพื่อนอีกสองคน
จู่ๆก็เหลือบไปเห็นรถจี๊ปสีเขียวหลังคาผ้าเต็นท์คันหนึ่ง
ติดหล่มอยู่ในขี้เลน
มีชายคนหนึ่งขับมาคนเดียวและพยายามขับรถขึ้นจากหล่มอยู่นาน
เขาและเพื่อนจึงวิ่งเข้าไปช่วยเข็น ท่ามกลางแดดร้อนเปรี้ยง
กับความพยายามอยู่ร่วมชั่วโมง แถมยิ่งออกแรงเร่งเครื่องมากเท่าไหร่
ล้อรถก็ยิ่งจมเลนลึกลงไปทุกทีๆ สุดท้ายทุกคนก็หมดแรง
ต่างหยุดพักแผ่หรากันอยู่ตรงนั้น
"หนูเคยเห็นคนนี้ที่ไหน" เสียงของชายเจ้าของรถเอ่ยถาม พร้อมยื่นแบงค์ใบละหนึ่งบาทให้ เด็กชายพนมตอบว่า "เคยเห็นแต่ในแบงค์ แต่ไม่เคยเห็นตัวจริง" ชายคนนั้นถอดหมวกที่สวมอยู่ออก แล้วถามกลับมาอีกว่า "เหมือนเราไหม"ในวินาทีนั้น เด็กชายทั้งสามคนรู้แล้วว่า ผู้ชายที่เขาเห็นแต่งกายธรรมดาผู้กำลังสนทนาอยู่ตรงหน้านั้นเป็นใคร ต่างก็นิ่งอึ้งและเข่าอ่อน ทรุดนั่งลงกลางเลน กราบลงแทบพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ทรงตรัสขึ้นว่า "ลุกขึ้น ลุกขึ้นเถิด อย่านั่งเลย มันเลอะ"
หลังจากนั้น พระองค์จึงทรงพระอักษรใส่กระดาษ ให้เด็กชายนำไปส่งให้ครูที่โรงเรียนเทศบาลเขาเต่า ครูได้เห็นจดหมายนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นองค์เหนือหัว แต่ด้วยน้ำจิตน้ำใจแบบไทย เห็นใครเดือดร้อนก็ต้องช่วยเหลือ จึงสั่งการเกณฑ์เด็กโตๆ ไปร่วมยี่สิบคน จนในที่สุดรถยนต์พระที่นั่งก็ขึ้นจากหล่มจนได้ ก่อนเสด็จฯ จากไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ ทรงตรัสว่า "ขอบใจมาก" เสียงนั้นยังก้องกังวานในใจของเด็กชายมาจนตราบทุกวันนี้
ภายหลังจากการพระราชพิธีอภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ การนี้เองจึงถือกำเนิดโครงการแรกอันเนื่องจากพระราชดำริขึ้น ณ ชุมชนบ้านเขาเต่า และนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการตามพระราชดำริอื่นๆ อีกมากมาย
(เนื้อหาจากที่สุดดอทคอม)
คุณทองแดงเป็นสุนัขแสนรู้และมีความกตัญญู ทันตแพทย์ผู้ถวายงานท่านหนึ่งเล่าไว้ว่า...
เมื่อเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาทำพระทนต์ ที่ห้องทำพระทนต์ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน คุณทองแดงจะเดินเข้าห้องนำหน้าพระองค์ท่าน จะเดินสำรวจไปรอบๆ เก้าอี้ทำพระทนต์ และโต๊ะทุกโต๊ะที่ตั้งเครื่องมือเครื่องใช้ไว้...แต่จะไม่แตะต้อง ในหลวงรับสั่งว่า..."ทองแดงเขาเดินตรวจความเรียบร้อย" และขณะที่ในหลวงทำพระทนต์ คุณทองแดงจะทำท่าหมอบกราบโดยเอาสองขาหน้าประสานกันโดยไม่มีการลุกเดินไปไหนตลอดเวลาที่ในหลวงทำพระทนต์และทรงคุยกับทันตแพทย์...ซึ่งบางครั้งรวมเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง และก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จกลับ คุณทองแดงจะเดินมาเลียหน้าทันตแพทย์ทุกคนเพื่อขอบใจ มีวันหนึ่งคุณทองแดงไม่เลียหน้าอาจารย์เมตตจิตต์ (รศ.ทันตแพทย์หญิงคุณเมตตจิตต์ นวจินดา) เพื่อขอบใจ ดิฉันได้ทูลถามพระองค์ท่านว่า...วันนี้คุณทองแดงไม่ขอบใจคุณหมอเมตตจิตต์
พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งตอบพร้อมรอยแย้มสรวลว่า..."ก็วันนี้หมอเมตตจิตต์ไม่ได้ทำอะไรนี่"
: เนื้อหาจาก เพจ ตามรอยพ่อ

'ความสุข'
ความสุขของในหลวงคืออะไร ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เขียนในหนังสือ 'ใต้เบื้องพระยุคลบาท' ไว้ว่า...
...คงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว ่า พระองค์ทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีความสุขทุกคราที่จะ ช่วยเหลือประชาชน เพราะได้เคยรับสั่งกับพวกเร าครั้งหนึ่งว่า...
"ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันใ นการทำประโยชน์ให้ผู้อื่น"
พ่อของแผ่นดินผู้ทรงบำเพ็ญพ ระราชกรณียกิจ เพื่อพสกนิกรของพระองค์ได้อ ยู่ดีมีสุขถ้วนหน้า ปวงข้าพระพุทธเจ้าสำนึกในพร ะมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดม ิได้ ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวา ยพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงพระสิริสวัสดิ์ ทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากโรคาพยาธิพิบัติภัยใ ดมาแผ้วพาน ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นธงชัยแห่งประเทศชาติ และสถิตเป็นมิ่งขวัญแห่งอาณ า ประชาราษฎร์สืบไปชั่วจิรัฐ ติกาล กราบแทบพระบาท...
ความสุขของในหลวงคืออะไร ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เขียนในหนังสือ 'ใต้เบื้องพระยุคลบาท' ไว้ว่า...
...คงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว
"ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันใ
พ่อของแผ่นดินผู้ทรงบำเพ็ญพ
: เนื้อหาจาก เพจ ตามรอยพ่อ

"..ทรงเลี้ยงสัตว์ไว้มาก ตั้งแต่สุนัข ลิง นก ยามอยู่ต่างประเทศพื้นที่จำ กัด จะเลี้ยงหมูหางยาวดูน่าเกลี ยด งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝ ังศพอย่างใหญ่โต
ในหลวงทรงซนนิดหน่อยอย่างที ่ควรซน ทำอะไรแม่จะทำโทษ อยู่เมืองไทยจะเฆี่ยนบ้าง แต่ก่อนจะเฆี่ยนจะเจรจากันก ่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรอง ๓ ทีมากเกินไป ๒ ทีพอแล้ว.."
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล่าประทานแก่ผู้จัดทำหน ังสือ 'สมเด็จพระศรีนครินทราบรมรา ชชนนี'
***
พ่อของแผ่นดินผู้ทรงงานตลอด ทั้งพระชนมายุแปดสิบกว่าพรร ษาของพระองค์ เพื่อปวงพสกนิกร
ในหลวงทรงซนนิดหน่อยอย่างที
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
***
พ่อของแผ่นดินผู้ทรงงานตลอด
: เนื้อหาจาก เพจ ตามรอยพ่อ

ปรัชญาการทำงานของในหลวง..' งานของเรา คือการทำให้เขามีความสุข'
เคยมีคนไปกราบทูลพระบาทสมเด ็จพระเจ้าอยู่หัว ให้พระองค์ทรงงดการเสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตร เหตุผลก็เพราะว่าพระองค์ทรง ตรากตรำและพระชนมพรรษาสูงวั ยแล้ว คำตอบที่ได้รับคือ เวลาที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรเป็นเ วลาที่มีความสุขมาก เพราะว่าได้เห็นบัณฑิตทั้งห ลายมีความสุข นิสิตทั้งหลายเรียนกันมา ๔ ปี ๕ ปี เป็นแพทย์ก็อาจจะ ๗ ปี พอเรียนจบได้รับพระราชทานปริญญาบัต รจากพระหัตถ์ของในหลวง ลืมความทุกข์ไปหมดเลย มีความสุขมาก แล้วทุกคนก็มีแต่รอยยิ้ม มานั่งรอในหลวงได้เป็นครึ่ง วัน
ที่เมืองไทยวันรับปริญญาจึง นับเป็นวันมหกรรมแห่งความสุ ข แต่สุขที่สุดอยู่ตรงที่ได้ร ับพระราชทานจากในหลวง มันไม่เพียงเป็นความสุข แต่เป็นความทรงจำที่งดงามด้ วย
ในหลวงตรัสว่า.."บัณฑิตเขาเ รียนมา ๔ ปีเหนื่อยหนักหนาสาหัส ก็ให้เขามีความสุขสักวันหนึ ่ง ขอให้เขาได้รับปริญญาบัตรจา กฉัน แล้วตัวฉันเองก็มีความสุขที ่ได้เห็นบัณฑิตทั้งหลายมารั บปริญญาบัตรจากมือของฉันแล้ วมีความสุข ฉะนั้น ฉันก็ยินดีที่จะทำหน้าที่นี ้ต่อไป"
Edit จากบทความของท่าน ว.วชิรเมธี : เนื้อหาจาก เพจ ตามรอยพ่อ
เคยมีคนไปกราบทูลพระบาทสมเด
ที่เมืองไทยวันรับปริญญาจึง
ในหลวงตรัสว่า.."บัณฑิตเขาเ
Edit จากบทความของท่าน ว.วชิรเมธี : เนื้อหาจาก เพจ ตามรอยพ่อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นกันเ องและมีพระอารมณ์ขัน ตัวอย่างเช่นเมื่อสมรักษ์ คำสิงห์ เมื่อครั้งได้เหรียญทองโอลิ มปิก
ในหลวงรับสั่งต่อสมรักษ์ คำสิงห์ เมื่อครั้งเข้าเฝ้าทูลเกล้า ถวายเหรียญทองโอลิมปิก แอตแลนตาเกมส์ปี 1996 ว่า " เราดูสมรักษ์ชกวันนั้น เห็นสมรักษ์ถือรูปเราขึ้นเว ที ชูมือ เรานึกว่าเราเป็นคนชกเอง พอสมรักษ์ชกชนะ เราก็เผลอกระโดดโลดเต้นดีใจ จนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หัวเ ราะเรา เราก็เลยรู้สึกอาย เราก็เลยนั่งลง"
: เนื่อหาจากอินสตาแกรม
“ทรงจับไหล่ผม ตรัสว่าได้นอนหรือยัง”รปภ.ศิริราชเผยสุดภูมิใจที่ได้ถวายรับใช้พ่อหลวง
อุทัย ภาเจริญสุข พนักงานรักษาความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บุคคลที่ได้ขับลิฟท์(กดลิฟท์รับ-ส่งขึ้นลง) ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ ตอนขึ้นลงอาคารเฉลิมพระเกียรติ เล่าว่า
เข้าทำงานเป็นรปภ.มา 18 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ.2541 และได้ถวายงานรับใช้พระองค์ท่านเมื่อปีพ.ศ.2545 จากการคัดเลือกรปภ. 200 คน เหลือเพียง 18 คน ถือเป็นความปลาบปลื้มที่สุดในชีวิตที่ได้ทำงานรับใช้พระองค์ท่าน ส่วนหน้าที่ที่ต้องถวายงานพระองค์นั้น คือ เมื่อพระองค์ท่าน หรือพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาที่อาคาร ตนจะเป็นคนขับลิฟท์ถวายส่งพระองค์ท่านไปยังชั้นที่จะเสด็จประทับ
อีกเรื่องที่ตนซาบซึ้ง และไม่รู้จะตอบแทนพระองค์ท่านได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ตนขี่จักรยานมาทำงานแล้วถูกรถยนต์ชนจนบาดเจ็บสาหัส แขน ขา และสะโพกหัก ต้องรักษาตัวอยู่ 9 เดือน พอผู้รับใช้ของพระองค์ท่านทราบเรื่อง ได้รับตนเข้าเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ถือเป็นวาสนาของตนมากที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดพระองค์ แม้จะเป็นเพียงพนักงานรักษาความปลอดภัย แต่พระองค์ท่านก็ทรงใส่ใจ และช่วยเหลือเมื่อยามยากลำบาก
“เหตุการณ์ที่ผมภูมิใจมากที่สุดที่ชีวิตนี้จะไม่มีวันลืม เกิดขึ้นในคืนหนึ่งเวลาประมาณ 23.00 น. ผมได้ขับลิฟท์ถวายแก่พระองค์ท่าน ขณะอยู่ในลิฟท์ พระองค์ท่านนำพระหัตถ์มาจับไหล่ผม และตรัสว่า “ได้นอนหรือยัง” ผมตอบพระองค์ท่านไปว่า “ยังพระพุทธเจ้าคะ” ถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดและฝันมาก่อนว่าจะได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านขนาดนี้ อยากเก็บชุดตัวนั้นเอาไว้ไม่ซักอีกเลย” รปภ.ศิริราช เล่าด้วยความภาคภูมิใจ
อุทัย เล่าต่อว่า ครั้งสุดท้ายที่ได้ขับลิฟท์ถวายพระองค์ท่าน คือตอนเข็นพระบรมศพลงมาทางลิฟท์ตัวที่ 7 จากชั้น 16 ลงมาที่ชั้น บี 2 ตนใส่ชุดเครื่องแบบรปภ.เต็มยศพร้อมถุงมือ และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เต็มที่ จนเมื่อรถเข็นของพระองค์ท่านเสด็จออกจากลิฟท์ไปนั้น ตนก้มลงกราบ และกลับเข้าไปในลิฟท์ร้องไห้ออกมาทันที กลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เพราะจากที่เมื่อก่อนถวายงานทุกวัน
จนวันนี้วันที่ท่านไม่อยู่แล้ว รู้สึกว้าเหว่ ถือเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้ถวายงานรับใช้พระองค์ท่าน โดยหลังจากนี้ตั้งใจจะเก็บถุงมือที่ถวายงานมาใส่กรอบไว้ให้ลูกหลานได้ดูต่อไป
“จากนี้ไปจะนำคำสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และจะเป็นคนดีของสังคม คนอื่นอาจมองอาชีพ รปภ. หรือ ยาม เป็นอาชีพสุดท้ายที่จะเลือกเป็นได้ ไม่มีใครชอบ แต่สำหรับตน มีความภูมิใจและถือเป็นเกียรติมากที่ได้ทำอาชีพนี้ และได้ใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน มันคุ้มและยิ่งใหญ่มากพอแล้ว” พี่อุทัยตั้งปณิธานในชีวิต
ขณะที่ วิโรจน์ วงศ์ละม้าย พนักงานรักษาความปลอดภัย อาคารเฉลิมพระเกียรตฺ ถือเป็นอีกคนที่มีโอกาสรับใช้พระองค์ท่าน เล่าว่า ตนถวายงานดูแลรักษาความปลอดภัยที่ชั้น จี ของอาคารเฉลิมพระเกียรติ ครั้งแรกที่เห็นพระองค์ท่านตนน้ำตาไหลออกมาด้วยความปลื้มปิติ ตอนที่พระองค์ท่านยังแข็งแรง หากเสด็จลงมาจากชั้น 16 พระองค์ท่านจะแย้มพระสรวลตลอด ชีวิตนี้ตนตายหลับแล้ว เพราะได้รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ทั้งยังถือเป็นเกียรติกับวงศ์ตระกูลอีกด้วย
วิโรจน์ เล่าอีกว่า พระองค์ท่านทรงมีเมตตากับพวกตน และทุกคนที่ถวายงานท่าน ทั้งมหาดเล็ก ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ในวันสำคัญอย่างวันคล้ายวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม ของทุกปี ท่านก็จะประทานเค้กให้พวกตนได้กินกัน ทุกคนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอย่างมาก” วิโรจน์ ย้อนเล่าถึงความปลาบปลื้มใจในชีวิต
วิโรจน์ ยังเล่าอีกว่า หลังจากพระองค์ท่านสวรรคต ตนใจหายและนอนไม่หลับ ถ้าเปลี่ยนให้คนแทนได้ก็จะทำ อยากให้พระองค์ท่านมีชิวิตอยู่ เพราะไม่มีพระราชา ที่ไหนที่จะทำเพื่อประชาชนเหมือนพระองค์ท่านอีกแล้ว ซึ่งหลังไม่มีพระองค์ท่านประทับอยู่ที่นี่ บรรยากาศที่นี่ก็เงียบเหงาไม่เหมือนเดิม แต่ยังมีประชาชนบางคนเดินมาที่ตึกแล้วร้องไห้ออกมา ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในตึกเดินมาทำงานยังตาแดงเสียใจกับการสวรรคตของพระองค์ท่าน ส่วนตนหลังจากนี้จะยึดแนวทางคำสอนของพระองค์ท่าน เรื่องการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหายให้ดีที่สุด ทำให้เต็มที่เต็มกำลัง และทำหน้าที่ตามที่ท่านสอนไว้
วันนี้แม้ไม่มี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประทับอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชแล้ว แต่ภาพความประทับใจ และคำสอนของพระองค์ท่าน จะฝังอยู่ในทรงจำของบุคคลที่ครั้งหนึ่งในชีวิตเคยถวายงานรับใช้พระราชาที่มีคนรักมากที่สุดในประเทศไทย
:เนื้อหาจากเว็บข่าวสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น